ดอกเบี้ยและการชำระเงิน

ดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน ไม่เกิน 15% ต่อปี

การชำระดอกเบี้ย :: ชำระเป็นรายเดือนทุกเดือน โดยการชำระผ่านบัญชีธนาคาร

การชำระแบบลดเงินต้น ลดดอกเบี้ย

ผู้กู้สามารถคืนเงินต้นบางส่วน เพื่อดอกเบี้ยจะได้ถูกลง โดยผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่คงเหลือจริง ทำให้สามารถลดเงินต้น ลดดอกเบี้ยได้ ซึ่งทำให้สามารถปลดหนี้ได้ไวขึ้น

กรณีจำนอง :: จ่ายดอกเบี้ยรายเดือนทุกเดือน

กรณีขายฝาก :: จ่ายผลประโยชน์ตอบแทน 1.25% ต่อเดือน หรือ 15% ต่อปี (กฎหมายไม่ให้คิดดอกเบี้ย แต่สามารถคิดผลประโยชน์ตอบแทนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี)

การไถ่ถอน

จำนอง

การไถ่ถอนจำนอง ผู้จำนองควรแจ้งล่วงหน้า 3-5 วัน เพื่อนัดไถ่ถอนที่กรมที่ดิน

อายุความสัญญาจำนอง

สัญญาจำนอง ไม่มีอายุความ แต่จะมีการระบุระยะเวลาชำระหนี้ และหากมีการผิดชำระเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น ในสัญญาจะมีการระบุเอาไว้ว่า นายเอ ได้รับจำนองที่ดินไว้กับ นายบี กำหนดเวลารับชำระคือ 1 ปี หากไม่ชำระตามกำหนดจะคิดดอกเบี้ยเท่ากับการกู้เงิน (15% ต่อปี) ซึ่งเจ้าหนี้ สามารถทำการเก็บดอกหลังจากเวลาผิดนัดชำระได้นาน 5 ปี

แต่ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระใดๆ เจ้าหนี้จะสามารถทำการฟ้องให้ชำระหนี้ที่ค้างตามกฏหมาย รวมกับดอกเบี้ยที่ค้างเดิม และดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ผิดนัด หรือถ้าหากลูกหนี้ไม่สามารถชดใช้หนี้สินได้จริงๆ จะมีการบังคับจำนอง เพื่อนำที่ดินนั้นไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชดใช้

 

 

ขายฝาก

การไถ่ถอนขายฝาก ผู้ขายฝากควรแจ้งล่วงหน้า 3-5 วัน เพื่อนัดไถ่ถอนที่กรมที่ดิน

ข้อควรรู้ :: กรณีครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว ไม่สามารถติดต่อผู้ซื้อฝากได้ สามารถนำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานบังคับคดี เพื่อรักษาสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์ได้

ระยะเวลาการไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝาก

การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดไถ่ถอนกันภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี

บุคคลที่มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนได้

*ผู้ขายฝาก หรือทายาทของผู้ขายฝาก

*ผู้รับโอนสิทธิการไถ่ทรัพย์สินคืน

*บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้

บุคคลที่มีสิทธิให้ไถ่คืนได้

*ผู้รับซื้อฝาก หรือถ้าหากผู้รับซื้อฝากเสียชีวิตก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ ผู้ขายฝากต้องไปขอไถ่จากทายาทของผู้รับฝาก

*ผู้รับโอนทรัพย์สินที่ขายฝากนั้น จากผู้ซื้อฝากเดิม

ตัวอย่างสัญญาจำนอง

ตัวอย่างสัญญาขายฝาก